วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การฝึกปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่1(22-28ธ.ค.2553)

จากข้อ5.เก็บรวบรวมข้อมูล(นำข้อมูลปฐมภูมิ+ข้อมูลทุติยภูมิ) จัดให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์ ควรทำอย่างไร
การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์สถานการณ์ทางสุขภาพของชุมชน
3.1 ข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำแผน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพของชุมชนใน 4 มิติของพื้นที่ ใช้ข้อมูลใดบ้าง
1. มิติทางกาย เช่น ข้อมูลป่วยตาย / การเจ็บป่วย 10 อันดับแรกของพื้นที่ ฯลฯ
2. มิติทางใจ เช่น ภาวะเครียด ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ฯลฯ
3. มิติทางสังคม เช่น ความแตกแยกครอบครัว ปัญหาขยะ สิ่งแวดล้อม การติดสารเสพติด อบายมุข เหล้า บุหรี่ ฯลฯ
4. มิติทางปัญญา เช่น การรู้เท่าทันพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการกิน ออกกำลังกาย การพักผ่อน และ การประกอบอาชีพ
3.2 แหล่งข้อมูล ที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาของพื้นที่  
1. ข้อมูลหมู่บ้าน
2. ข้อมูลสุขภาพ จาก อสม.
3. ข้อมูลสุขภาพ ระดับสถานบริการสาธารณสุข
4. ข้อมูล กชช. 2 ค.
5. ข้อมูล จปฐ.
6. ข้อมูลจาก อปท.
7. ข้อมูลจากเวทีประชาคมในหมู่บ้าน / ตำบล
3.3 วิธีการที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน ใช้รูปแบบวิธีการใดได้บ้าง
1. มีการสร้างการรับรู้ของชุมชน โดยมีการเผยแพร่ข้อมูล โดยใช้สื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ได้แก่
หอกระจายข่าว  เสียงตามสาย วิทยุชุมชน บอร์ดประกาศ เอกสาร ผ่านบุคคลที่เป็นผู้นำ
2. มีการจัดเวทีประชาคม / แลกเปลี่ยนหารือกัน เพื่อให้ภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน
3. มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพร่วมกันในชุมชน
3.4 ในการจัดทำแผนชุมชนได้มีการวิเคราะห์ทุนทางสังคมที่สามารถนำมาสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพชุมชน ซึ่งได้แก่
1. ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพ
2. กลุ่มคนต่างๆที่สามารถนำมาร่วมเป็นภาคีเครือข่าย
3. ความเข้มแข็งของวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมที่มีผลต่อสุขภาพ เพื่อนำมาใช้กำหนดมาตรการทางสังคม
4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
5. ปราชญ์ชาวบ้าน หรือ บุคคลต้นแบบ ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รายละเอียดของกิจกรรมในสัปดาห์ที่1ระหว่างวันที่20-26ธค.53

การฝึกปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่1(22-28 ธันวาคม2553)

การทำแผนที่เดินดิน
  • ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนครบถ้วนที่สุด
  • ได้ข้อมูลมาในระยะสั้นที่สุดเป้าหมายสำคัญของ "แผนที่เดินดิน" ๓ ประการ
  • ข้อมูลมีความเชื่อถือมากที่สุด
  • ได้เห็นสภาพที่เป็นจริงของชุมชนจากการสังเกตของตนเอง
วิธีการทำแผนที่เดินดิน

-เลือกหมู่บ้านที่เราจะไปศึกษา

-ควรมีแผนผังของหมู่บ้านเดิมอยู่ก่อนจะลงพื้นที่ด้วยตนเอง

-การเขียนแผนที่ถึงจะไม่สวย แต่ต้องมีข้อมูลสำคัญต้องครบและสมบูรณ์

-ต้องเข้าใจหน้าที่ทางสังคม  พื้นที่ทางกายภาพและมองเห็นความสัมพันธ์ต่างๆ

-ใช้การเดินแทนการนั่งรถ  นำแผนที่เก่าไปประกอบถ้ามี

-ทำเป็นทีไม่แยกกันเขียน  ให้ผู้นำพาเดินและเขียนข้อสังเกตให้ได้มากที่สุด

การสำรวจหมู่บ้านเพื่อทำแผนที่เดินดิน จะส่งผลต่อ

-         เราเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้นเก็บรายละเอียดจุดเล็กจุดน้อยด้วยสายตาของเรา

-         จะเน้นความสำคัญของคนในชุมชนมากกว่า

-         รู้จักชาวบ้านมากขึ้นและมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของหมู่บ้านมากกว่าเดิม

-         การเดินสำรวจทำให้เราได้พบปะพูดคุยกับชาวบ้านเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมอีกทางหนึ่ง

-         ทำให้เราเห็นความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมากขึ้นและเข้าใจถึงชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มคนต่างๆกัน

              

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่8ระหว่างวันที่12-18กุมภา54

สรุปและนำเสนอผลการปฏิบัติงาน
1.ที่สถานีอนามัย  18  ก.พ.2554 
2.ที่วิทยาลัยฯ 21 ก.พ.2554
ทั้งนี้ขอให้รอประกาศที่แน่นอนกับอาจารย์หลังจากการนิเทศงานครั้งที่2

สัปดาห์ที่4-7ระหว่างวันที่12มกรา54-11กุมภา54

1.เขียนโครงการ(11 หัวข้อ)
2.ทบทวนหัวข้อโดยละเอียดโดยเฉพาะวัตถุประสงค์(5w+h)และควรพิจารณาความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบายขององค์กร
3.การปฏิบัติตามแผน(เสร็จทัน ส่วนร่วมของชุมชน ส่วนร่วมของทีมงาน ทรัพยากร และเทคโนโลยีเหมาะสม แผนการประเมินเป็นระยะ

การฝึกปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่2-3(29 ธันวาคม53-11มกราคม54)

สัปดาห์นี้เข้าสู่การวินิจฉัยชุมชน
1.นำเสนอข้อมูล
1.1ประชุมผู้นำชุมชนเพื่อนำเสนอข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่อชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ข้อมูลที่นำเสนอต้องถูกต้องตามหลักวิชาการ  เหมาะสมและเข้าใจง่าย เป็นที่สนใจของชุมชน
1.2.ทำการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานกำหนด(ขนาด ความรุนแรง ความยากง่าย ความต้องการของชุมชน)จนได้ปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 ที่ควรแก้ไข
2.การวิเคราะห์ปัญหา
2.1วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา(ใช้เทคนิคระบาดวิทยาคือ ทบทวนตามhost agent environment ตามบุคคล สถานที่และเวลาระยะฟักตัว ระยะแพร่เชื้อ อาการของโรค มาตรการป้องกันและควบคุม
2.2สร้างdiagram โยงใยสาเหตุแห่งปัญหา ต้นลูกศรจะเป็นเหตุ ปลายลูกศรจะเป็นผล
2.3พิสูจน์ว่าสาเหตุต่างๆนั้นทำให้เกิดปัญหาสาธารณสุขจริงจากข้อมูลที่เก็บมาหรือจากการทำkap survey
3.ระบุประชากรที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรค/ปัญหาสาธารณสุข และกำหนดทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหา
4.กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของแผน และโครงการแก้ไขปัญหา(เน้นย้ำทำได้ วัดได้บอกวิธีได้ สอดคล้อง ระบุเวลาเริ่มต้นสิ้นสุด)

สัปดาห์ที่1ระหว่างวันที่20-26ธค.53

ทำอะไรบ้าง
1.จัดทำแผนในการปฏิบัติงาน  /แผนเดือน พร้อมรายละเอียด ชื่อแผน ชื่อกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ เวลา ผลลัพธ์(การนำไปใช้)  จัดทำสมุดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน มีรายละเอียดต่างๆที่จำเป็น(5w+h)
2.การเข้าชุมชน และการเตรียมชุมชน การทำความรู้จักกับผู้นำชุมชน ประชาชนครบทุกระดับ
3.การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน(งานบุญ พิธีต่างๆ งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ งานแต่ง ทำบุญประจำเดือน)
4.วางแผนศึกษาชุมชนโดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นเขียนmind mapping ระบบสุขภาพ
5.เก็บรวบรวมข้อมูล(นำข้อมูลปฐมภูมิ+ข้อมูลทุติยภูมิ) จัดให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์
6.วิเคราะห์และระบุปัญหาสาธารณสุข
ประชุมกลุ่มแล้วเลือกประธาน เลขากลุ่ม วิเคราะห์งาน และกำหนดผู้รับผิดชอบพร้อมระบุเวลาแล้วเสร็จ ใครเป็นผู้ตามงานของแต่ละคน และกำหนดตัวช่วยหากงานมีปัญหาและอุปสรรค และการสรุปงานที่ทำในช่วงเวลาที่กำหนด  การรวบรวมและบันทึกสรุปผลข้อมูล การสำรองไฟล์  และการเชื่อมโยงข้อมูล

การฝึกปฏิบัติงานในสัปดาห์ที่1(22-28 ธันวาคม2553)

สวัสดีน.ศ.ทุกท่าน
            วันแรกถึงที่ทำงานมีปัญหาอุปสรรคอะไร เล่ามาได้เลยนะ สำรวจตรวจตราที่พัก ที่กิน ที่อาบน้ำให้ดี  กำหนดพื้นที่พักผ่อน พื้นที่ปฏิบัติการ ที่รับประทานอาหาร และที่เก็บสมบัติส่วนตัวให้เรียบร้อย  จัดข้าวของสัมภาระต่างๆให้เป็นระเบียบ  ไม่ควรดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ใดๆโดยไม่ได้รับอนุญาตจากครูพี่เลี้ยง  ช่วยกันทำความสะอาด