วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
แนวทางการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา องค์การอนามัยโลกใช้ 4 องค์ประกอบ สำหรับพิจารณา
1.เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา : ได้แก่ มีวิธีการที่ได้ผลในการลดปัญหา, บุคคล และเงินพร้อมที่จะนำไปใช้หรือไม่, ผู้ปฏิบัติทั่วไปใช้เป็นเพียงใด, แก้ปัญหาได้หลายด้านหรือไม่
2.ขนาดของปัญหา :ได้แก่ความชุกของการป่วยตาย,ความรุนแรงของโรค,การแพร่กระจาย,การขาดแคลนผู้บริการ
3.การยอมรับของสังคม :ได้แก่ ความสำคัญต่อพื้นที่และการยอมรับของชุมชน,ผลกระทบติอกลุ่มคน,ปัญหาของกลุ่มและพื้นที่
4.ความเป็นไปได้ในการสนับสนุน และความสนใจของหัวหน้า :ได้แก่ ความสอดคล้องกับแผนและนโยบายของประเทศและพื้นที่ ความเป็นไปได้ในการสนับสนุน
กำหนดปัญหาที่ต้องแก้ไข
ประเด็นที่ต้องทำ
รายละเอียดของงาน
สิ่งที่คาดว่าจะเกิด
1.การทบทวนข้อมูล
-สำรวจข้อมูลที่บกพร่องหรือขาดหายไปหรือที่ต้องการเพิ่มเติม
-กำหนดหัวข้อที่ควรเพิ่มเติมและดำเนินการจัดทำ
-ตารางวิเคราะห์ที่สมบูรณ์
-รายการข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
2.การวิเคราะห์ปัญหา
- วิเคราะห์สาเหตุทั้งทางตรง และทางอ้อมอีกทั้งปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ให้ครอบคลุม และตามสภาพในแต่ละพื้นที่
-เขียนแผนภูมิโยงใยปัญหา(web of causation)
- เลือกตัวชี้วัดที่จำเป็นและสำคัญ
-แผนภูมิโยงใยปัญหา(web of causation)
- ข้อมูลเพิ่มเติม
3. รูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม / เพิ่มเติม
- พิจารณาแหล่งข้อมูล ทั้งที่มีอยู่เดิม และจะเก็บเพิ่มเติม
- ออกแบบเครื่องมือ เช่น แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ รวมทั้ง ออกแบบตารางนำเสนอข้อมูลนั้นๆ (Dummy Table)
- ตารางแหล่งข้อมูล
- เครื่องมือเก็บข้อมูล
- ตารางนำเสนอข้อมูล (Dummy Table)
4. การกำหนดปัญหา และขอบเขตของปัญหา
- เขียนสรุปปัญหาให้ชัดเจน ในเชิงพรรณนา และเชิงปริมาณ
- ตารางข้อมูลปัญหา
- แผนภูมิปัญหาขั้นสุดท้าย
- สรุปปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
5. การแจกแจงแนวคิด และกลวิธีแก้ปัญหา
- ทบทวนแผนภูมปัญหา เลือกตัวแปรที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาโดยพิจารณาตัวแปรที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา
- รวบรวมแนวคิด กลวิธีการแก้ปัญหา ว่าจะทำอะไร เพื่อแก้ปัญหา แล้วนำมาเรียงลำดับกลวิธี โดยใช้หลักการดังนี้
-เป็นวิธีลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้
-ตอบสนองต่อนโยบาย
-ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
-เป็นกลวิธีที่สามารถดำเนินการได้ ในเวลาที่กำหนด และงบประมาณที่มีอยู่
-เป็นแนวทางใหม่ที่ต่างจากทางปฏิบัติเป็นประจำ

-แนวคิดกลวิธีการแก้ปัญหา


ประเด็นที่ต้องทำ
รายละเอียดของงาน
สิ่งที่คาดว่าจะเกิด
6. การกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
- ทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
- เลือกตัวชี้วัดปัญหาที่เหมาะสม กำหนดระดับปัญหาที่สอดคล้องกับนโยบาย และข้อมูล และวางแผนระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นระยะ
- พิจารณากลวิธี หรือการให้บริการเร่งด่วน ที่มีประสิทธิผล เพื่อกำหนดเป้าต่างๆ
-วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
7. การกำหนดแนวทาง / กิจกรรมการแก้ปัญหา
-กำหนดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
-กำหนดผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม
-แนวทางแก้ปัญหา/กิจกรรม
-ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม
8.การประเมินผล
- คัดเลือกตัวชี้วัดที่มีความเหมาะสมกับกิจกรรม/ การแก้ปัญหา - ให้ความหมายตัวชี้วัด
- กำหนดเวลา และวิธีการประเมินผล
-รูปแบบการประเมินผล
-ความสำเร็จของงาน
9.การเตรียมโครงการแก้ปัญหา
-เขียนโครงการอย่างละเอียดจากสรุปหัวข้อต่างๆ(หลักการ-วิธีการประเมิน)
-นำเสนอโครงการ
-ผลงาน

ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม
              โดยทั่วไปการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาข้อควรคำนึงเสมอในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุข คือ ปัญหาสำหรับใคร และต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่น ได้แก่ ผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน และการบริการสาธารณสุขด้วยทุกครั้งก่อนตัดสินใจวางแผนแก้ปัญหาซึ่งสำรวจและจัดลำดับความสำคัญแล้ว เช่น กรณีจัดลำดับแล้วปัญหานั้นขาดความสนใจหรือร่วมมือจากชุมชน ทำให้ดำเนินโครงการได้ยากก็อาจต้องมีการจูงใจหรือให้ความรู้ต่อชุมชนเพิ่มเติมว่า ทำไมเป็นปัญหาและต้องรับการแก้ไข หรืออาจเปลี่ยนไปเลือกปัญหาที่ลำดับความสำคัญรองลงมาต่อไป
1. ขนาดของปัญหา ได้แก่
1. อุบัติการณ์ (Incidence) จำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง
2. ความชุก (Prevalence) จำนวนผู้ป่วยใหม่และเก่าที่จุดเวลาหนึ่ง
3. อัตราป่วย (Morbidity rate) และผลที่เกิดต่อปัญหาอื่น
2. ความรุนแรงหรือผลกระทบของปัญหา ได้แก่
1. อัตราตาย (Mortality rate)
2. ความพิการ (Disability)
3.ความยากง่ายในการแก้ไขปัญหา ได้แก่
1. รักษาได้ (Treatability)
2. ป้องกันได้ (Preventability)
4.ค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ได้แก่
1. การสูญเสียความสามารถในการทำงานหรือผลิต (Productivity loss)
2. ค่าใช้จ่ายจากความเจ็บป่วย (Cost incurred from illness)
3. ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ใช้ดำเนินการแก้ปัญหา

คำถามสำหรับการนิเทศงานครั้งที่1
กระบวนการวินิจฉัยชุมชน
1. ขั้นตอนหลักของการวินิจฉัยชุมชนมีอะไรบ้าง
-เลือกเขตพื้นทีที่สนใจเบื้องต้น
-การเตรียมตัวเพื่อหาข้อมูล
-หาข้อมูลที่มีอยู่เดิม (secondary data)
-วิเคราะห์ จัดกลุ่มปัญหา และวางแนวทางในการวินิจฉัยชุมชน
-การทดสอบแบบสอบถาม
-การเตรียมตัวเพื่อออกสำรวจชุมชน
-การสำรวจชุมชนและบันทึกข้อมูล
-การลงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และแปลความข้อมูล
-การเรียงลำดับปัญหา
-การคัดเลือกปัญหาและจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา
- นำเสนอหน้าห้องเรียนต่อหน้าผู้เกี่ยวข้อง

2. การเตรียมตัวเพื่อหาข้อมูลที่มีอยู่เดิม (secondary data) ต้องทำอะไรบ้าง
2.1. วัตถุประสงค์
-. เพื่อให้มีความเข้าใจต่อกระบวนการทำงานก่อนและเมื่อออกค้นหาข้อมูลของชุมชนที่มีอยู่เดิม
-. มีการวางแผนและทำงานเป็นทีม
-. มีการเตรียมหัวข้อที่จะค้นหา แบ่งงาน และวิธีการค้นหาข้อมูล/การบันทึกข้อมูล
2.2. กิจกรรมสำคัญ/การเรียนรู้
-. กิจกรรมกลุ่มย่อย
- ใช้เอกสารอ้างอิงที่อาจารย์แนะนำในการทำกิจกรรม
2.3. การประเมินผล
-. ประเมินการทำกิจกรรมกลุ่ม
2.4. หัวข้อสำคัญ ตอบคำถามต่อไปนี้และจัดกรอบของการออกหาข้อมูลในครั้งแรกที่สถานีอนามัย
-. ชุมชนที่เรารับผิดชอบมีชื่อว่าอะไร เราเคยรู้จักมาก่อนหรือไม่และมีข้อมูลมากน้อยเพียงใด ตั้งอยู่บริเวณใด ห่างจากสถานีอนามัยเท่าไร ฯลฯ
- ชุมชนนี้มีประวัติเป็นมาอย่างไร ต้องสืบถามจากใครจึงจะได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- ชุมชนนี้มีลักษณะอย่างไร
1. มีระบบชุมชนอย่างไร เช่น องค์กร โครงสร้างสังคมและครอบครัว เครือข่ายสำคัญ การเชื่อมโยง และแหล่งทุนทางสังคมและการเงินที่สำคัญ
2. มีวัฒนธรรมอย่างไร เช่น ความเชื่อ วิถีชีวิต การสื่อสาร และการยอมรับ/ใช้เทคโนโลยี ความสนใจและมีส่วนร่วมกับระบบสุขภาพ
3. การปกครองท้องถิ่นมีลักษณะอย่างไร เช่น ระบบและโครงสร้างบริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มย่อย และหน่วยงานภาคประชาชน ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยง การมีส่วนร่วม กระบวนการตัดสินใจ ปัญหา และการตรวจสอบหรือประเมินผล
4. ระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เช่น อาชีพ แหล่งทำมาหากิน อัตราการจ้างงาน/ตกงาน รายได้ต่อหัวประชากร/ครัวเรือน แหล่งสนับสนุนทุน ตลอดจนการเข้าถึง และการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา
5. สภาพภูมิศาสตร์เป็นอย่างไร (geography) เช่น ที่ตั้ง มีพื้นที่มากน้อยเพียงใด มีแผนที่เป็นอย่างไร(การกระจายครัวเรือน ปัญหาสุขภาพ และแหล่งสำคัญในชุมชน เขตติดต่อ สิ่งแวดล้อม มีกี่แบ่งเขตอย่างไร (พื้นที่ทางเศรษฐกิจ พื้นที่อยู่อาศัย) สถานที่/หน่วยงานสำคัญ (เช่น อบต.โรงเรียน ตลาด) มีการแบ่งเป็นเขตเมือง ชานเมือง และชนบทอย่างไร การคมนาคมขนส่ง(การไปมาหาสู่ อาหาร/สินค้าไปโรงพยาบาล/สถานพยาบาล)
ตัวอย่างการเขียนแผนที่ชุมชนที่แสดงจุดสำคัญ
6. ประชากรศาสตร์ (demography) เช่น จำนวนประชากร การกระจายด้านโครงสร้างอายุ อาชีพ เผ่าพันธุ์/ชนชาติ
-. ระบบสุขภาพในชุมชนเป็นอย่างไร ทั้งแผนปัจจุบันหรือแผนอื่น ภาคราชการภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน (ปริมาณ) ความพอเพียง ตลอดจนความครอบคลุมและการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นและการเข้าถึงบริการ เป็นต้น
-. ระบบการศึกษาในชุมชนเป็นอย่างไร เช่น โรงเรียน ระดับการศึกษา สุขอนามัยในโรงเรียน
-. สุขภาพชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างไร เช่น
1. สภาวะทางสุขภาพในภาพรวม และตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น อัตราเกิดอัตราตาย อัตราการตายปริกำเนิด อัตราตายของมารดา อัตราการเกิดโรคที่สำคัญ ตลอดจนการจัดลำดับสภาวะสุขภาพเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนที่ข้างเคียง
2. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสถานีอนามัย
3. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในชุมชน
4. สาเหตุการตาย 5 อันดับแรกในชุมชน
5. ความเชื่อ/ใส่ใจ/มีส่วนร่วมในสุขภาพของชาวบ้าน
6. ลักษณะการใช้บริการสุขภาพทั้งในและนอกชุมชน
7. ความต้องการทางสุขภาพของชาวบ้านเป็นอย่างไร
8. ความต้องการทางสุขภาพของชาวบ้าน
9. การแก้ปัญหา/ความร่วมมือของชาวบ้าน
10. ภาระงานและกิจกรรมที่สำคัญของสถานบริการสุขภาพในชุมชน
11. ความต้องการของบุคลากรทางสุขภาพในชุมชน
12. ความต้องการของสถานบริการสุขภาพในชุมชน
13. ระบบประกันสุขภาพ/สิทธิการรักษา
7. ภัยคุกคามและปัญหาสิ่งแวดล้อม
1. เสียง กลิ่น ฝุ่น
2. ยาเสพติด
3. ขโมย และความปลอดภัยในทรัพย์สิน
4. อุบัติเหตุทางจราจร/งาน
8. ปัญหาเฉพาะสำหรับพื้นที่มีหรือไม่ อะไรบ้าง เช่น การระบาดของยาเสพติดไข้เลือดออก ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง
3. การเตรียมการณ์
1. การกำหนดวัน/เวลา/สถานที่ทำกิจกกรม
2. การเดินทาง
3. การเตรียมชุมชน เช่น การนัดหมายเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ การเข้าพบผู้นำ/ผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น การนัดชาวบ้าน การประชาสัมพันธ์
4. การเตรียมตัวของนักศึกษา เช่น โครงสร้าง การแบ่งหน้าที่/งาน
5. แบบบันทึกและการบันทึกข้อมูล
6. แหล่งข้อมูลที่จะหาข้อมูลแต่ละประเภทจะได้จากแหล่งใด เช่น หนังสือ วารสารรายงานประจำปี เจ้าหน้าที่ ผู้นำ และชาวบ้าน
7. การประสานงานกับอาจารย์นิเทศ ครูพี่เลี้ยง
8. กิจกรรมและกระบวนการหลังได้ข้อมูล
1. การรวบรวมข้อมูล
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
3. การแปลความ
4. การนำไปใช้
การสืบค้นหาข้อมูลที่มีอยู่เดิมนั้นไม่จำเป็นต้องได้ครบในคราวเดียว และอาจจำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลหลายแหล่ง ถ้าไม่ได้ข้อมูลจริงอาจใช้โอกาสที่ออกสำรวจหาข้อมูลระดับปฐมภูมิในการหาข้อมูลต่อไป
ประเมินผล แก้ปัญหาwww.facebook.com/dumrongsaksj

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รายชื่ออาจารย์ผู้นิเทศประจำสายงานทั้ง 4 สาย


กลุ่มที่            1 อ.แกลง  1. อ.ดำรงศักดิ์     สอนแจ้ง      0877401932
  
         กลุ่มที่ 1 อ.แกลง           1. อ.ดำรงศักดิ์     สอนแจ้ง          0877401932
                                                     2.อ.อารีรัตน์ บากาสะแต             0812773045                                                       
         กลุ่มที่ 2  อ.เขาชะเมา         1. อ.ปิยรัตน์         จิตรภักดี          0861459905
                                                    2. อ.จตุพร            อาญาเมือง       0815773015   
         กลุ่มที่ 3 อ.เมือง                 1. อ.ดำรงศักดิ์       สอนแจ้ง          0877401932   
                                                    2. อ.ทัศนันท์         ทุมมานนท์      0817731962
     กลุ่มที่ 4  อ.บ้านค่าย               1.อ.สุภาวัลย์   จาริยะศิลป์             0817813873                                           
                     อ.นิคมพัฒนา         2. อ.ศรีสวรินทร์    สินชัย              0839777847   
                                                         
                                                   
สะแต   0812773045
 
กลุ่มที่  2  อ.เขาชะเมา  1. อ.ปิยรัตน์         จิตรภักดี      0861459905
  2. อ.จตุพร            อาญาเมือง   0815773015
 
กลุ่มที่  3 อ.เมือง  1. อ.ดำรงศักดิ์       สอนแจ้ง      0877401932 
  2. อ.ทัศนันท์         ทุมมานนท์  0817731962
กลุ่มที่  4  อ.บ้านค่าย   1. อ.สุภาวัลย์         จาริยะศิลป์ 0817813873                              อ.นิคมพัฒนา           2. อ.ศรีสวรินทร์    สินชัย        0839777847 
                                         

กำหนดการปฐมนิเทศการฝึกภาคสนาม2 ณวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 24 ธ.ค.2555เวลา09.00-12.00 น.

กำหนดการปฐมนิเทศการฝึกภาคสนามการพัฒนาสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
09.00-09.30 น.     กล่าวต้อนรับและให้โอวาทนักศึกษา(หัวหน้าภาควิชาฯ)
     09.30-10.00 น.     ชี้แจงรายละเอียดการฝึกและการประเมินผล(อ.ดำรงค์ศักดิ์)
    10.00-11.00  น.      ชี้แจงระเบียบ/ข้อปฏิบัติ/การลา/การหยุด/ตั้งผู้แทนกลุ่ม(อทัศนันนท์,อ.ปิยรัตน์)
    11.00 -11.30 น.     การเดินทางและรายชื่อผู้ประสานประจำแหล่งฝึก/ผู้แทนกลุ่มตรวจรับวัสดุอุปกรณ์               เครื่องเขียนประจำกลุ่ม/การcall  check (คุณภัณฑิรา)
    11.30-15.30 น.      เตรียมเดินทางไปยังแหล่งฝึกตามอำเภอต่างๆ พร้อมทั้งประสานกับครูพี่เลี้ยงเพื่อขอเข้าที่พักในแหล่งฝึก

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กำหนดการปฐมนิเทศครูพี่เลี้ยงการฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม2 ณ จังหวัดระยอง
วันที่ 17 ธันวาคม  2555  09.00 - 12.00 น.       สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขาชะเมา
                                 13.30  - 16.30 น.       สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแกลง
วันที่ 18 ธันวาคม  2555  09.00 - 12.00 น.       สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองระยอง
                                  13.30 - 16.30 น.       สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนิคมพัฒนา
วันที่ 19 ธันวาคม  2555  09.00 - 12.00 น.       สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านค่าย
รายชื่อผู้นิเทศ
1.อ.สุภาวัลย์  จาริยะศิลป์   2.อ.ทัศนันท์  ทุมมานนท์  3. อ.ดำรงค์ศักดิ์  สอนแจ้ง
ประเด็นหัวข้อ
1.แนะนำอาจารย์นิเทศผู้เป็นหัวหน้าคณะประจำสายงานนิเทศ
2.แจ้งแผนการนิเทศและวันเวลานิเทศในสถานที่นิเทศแต่ละแห่ง
3.ทบทวนประเด็นสำคัญในรายละเอียดของการฝึกปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษา
4.แลกเปลี่ยนทัศนะและวางแผนร่วมกันกับครูพี่เลี้ยงเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงานนักศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ช่วยกันทำแบบประเมินความพึงพอใจหน่อยนะ 83 ทั้งหลาย

แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาฝึกงานต่อแหล่งฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง
ระหว่างวันที่  19 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่19 กุมภาพันธ์ ประจำปี 2555
ชื่อสถานที่ฝึก..............................................................สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ...................................... 
ปีการศึกษา........... ชั้นปีที่2/..... หลักสูตร................................... จำนวนนักศึกษาในกลุ่ม.................. คน
โปรดระบุเครื่องหมาย  ü ในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
  1. เพศ                                   ชาย                      หญิง
  2. อายุ.....................ปี
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจการให้บริการ
        ท่านมีความพึงพอใจการบริหารจัดการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลมากน้อยเพียงใด

ประเด็น
ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด
5
มาก
4
ปานกลาง
3
น้อย
2
น้อยที่สุด
1
1.ด้านกระบวนการ ขั้นตอน





1. พอใจในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลที่มาฝึกงาน





2. ท่านพอใจต่อ รูปแบบลักษณะของการฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายขณะฝึกงาน





5.  ระบบงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลที่ท่านฝึกงานมีระบบที่ดี





6. บริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลมีความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย





2.ด้านครูพี่เลี้ยง





2.1ด้านเนื้อหาวิชาการและการถ่ายทอดความรู้





2.2ด้านความสามารถในการสอนงานและการตอบคำถาม





2.3 การให้ความดูแลช่วยเหลือแก้ปัญหาในการฝึกงาน





2.4 เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลมีอัธยาศัยที่ดีกับท่าน





3.ด้านการอำนวยความสะดวก





3.1 ที่พัก ห้องน้ำ สะอาด เป็นสัดส่วนมีความปลอดภัย





3.2 โสตทัศนูปกรณ์ เครื่องมือต่างๆใช้งานได้ดี





4.คุณภาพของการให้บริการ





4.1  ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการฝึกการปฏิบัติงานครั้งนี้





ประเด็น
ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด
5
มาก
4
ปานกลาง
3
น้อย
2
น้อยที่สุด
1
4.2 สิ่งที่ท่านได้รับจากโครงการฝึกการปฏิบัติงานนี้ตรงกับความคาดหวัง





4.3 จำนวนวันและระยะเวลาของการฝึกครั้งนี้มีความเหมาะสม





4.4 กิจกรรมในการฝึกงานภาคสนามเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของท่านหรือไม่.





5.ความพึงพอใจโดยรวมของการฝึกภาคสนาม





5.1สถานที่ฝึกงานในโรงพยาบาล





5.2 แหล่งฝึกในชุมชน





5.3ครูพี่เลี้ยง  และเจ้าหน้าที่





5.4ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน องค์กรเครือข่าย





5.5อาจารย์ผู้นิเทศประจำสาย





5.6. ภาพรวมความพึงพอใจต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลที่ท่านมาฝึกงาน













































ข้อเสนอแนะอื่น ๆ เพิ่มเติม................................................................................................................................................ขอบพระคุณในความร่วมมือ
ภาควิชาสาธารณสุขชุมชนวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี













หมายเหตุ:ให้นักศึกษาทำแบบประเมินทุกคนโดยส่งกับอาจารย์ผู้นิเทศประจำกลุ่มในวันนิเทศงานครั้งที่ 2 (ก่อน 19  ก.พ. 2555)