วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวอย่างโครงการแก้ปัญหาโรค มะเร็ง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือด


                                     โครงการ หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค 

หลักการและเหตุผล

                             ปัจจุบัน  ปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือ    โรคมะเร็ง 
โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด  มีอัตราตาย ๘๕.๐๔ ,๓.๖๔ , ๕๕.๒๕     ต่อแสนประชากรตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุข  พ.ศ........)  และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย   มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ           แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง   และจากการสำรวจของนักศึกษา พบว่าประชาชนในหมู่ที่ ....มีเพียง .......คนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้น จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนในหมู่ที่.......พบว่าประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากกว่า  ๑๕  ปี ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ และมีพฤติกรรมการบริโภคหวาน มัน เค็ม และอาหารที่มีไขมันจำนวน........ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีความเสี่ยง ต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด  ทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย               นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน  จึงได้จัดทำโครงการ   ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค   ปี  ........ ขึ้น
วัตถุประสงค์
                        .เพื่อให้หมู่ที่...มี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย  30  นาที  ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละ         อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป และลดอาหารไขมัน
         ๒.เพื่อตั้งให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย
สม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วันๆละอย่างน้อย  ๓๐  นาที    ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด    วันละอย่างน้อย  ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป และลดอาหารไขมัน
                        .ให้ประชาชนมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วันๆละอย่างน้อย  ๓๐  นาที    ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อย  ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป และลดอาหารไขมัน
                       . เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกรัสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน
เป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ  หมู่ที่.....  ตำบล........อำเภอ....... จังหวัด........
กิจกรรมหลัก

                             ๑.แต่งตั้งทีมงาน แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน และการมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่าย (เทศบาล,รพ.สต.ผู้นำชุมชน,โรงเรียน ,วัด)
๒.ศึกษาข้อมูลในชุมชน(พฤติกรรมสุขภาพ,ข้อมูลทั่วไป โรค/อัตราป่วย/อัตราตาย,ปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมทางสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถาม
๓.ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบโครงการและจัดทำแผน
๔. จัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน ในหมู่บ้านเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
๕ จัดประกวดครัวเรือนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค
๗ จัดมหกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับครัวเรือน
 ระยะเวลาดำเนินการ         ....................................

งบประมาณ       สนับสนุนงบจากกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพ.........ตำบล.....
การประเมินผล
 1.ประเมินผลดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ โดยแบบประเมิน              
 2.ประเมินการมีส่วนร่วมของประชากรกลุ่มเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯจากแบบสรุปผลการดำเนินงาน
 3.ประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ   โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ
 4.ประเมินความรู้และพฤติกรรมการออกกำลังกายและรับประทานผักและผลไม้ของ
ประชาชนโดยการสำรวจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ประชาชนในหมู่บ้านลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงและ  โรคหัวใจและหลอดเลือด
2.ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน
3.หมู่บ้านได้รับการยอมรับให้เป็นแบบอย่างหมู่บ้านสุขภาพดี
4.เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้รับผิดชอบโครงการ

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การเขียนวัตถุประสงค์โครงการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
หมู่บ้าน       ตำบล         อำเภอ         จังหวัด           ปีงบประมาณ
******************
1.หลักการและเหตุผล
                        ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานาน โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรคและนับว่ามีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี ซึ่งจังหวัด................ก็มีการระบาดที่ค่อนข้างสูง  อำเภอ.................เองก็มีการระบาด หมู่บ้าน...............มีพื้นที่รับผิดชอบจำนวน ..........หลังคาเรือน ประชากรในพื้นที่ ......คน เมื่อปี 2555 มีจำนวนผู้ป่วยจำนวน....ราย เทียบเป็นอัตราป่วย….. ต่อแสนประชากร ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การระบาดและให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน อสม.ในเขตรพสต. ......... จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น

วัตถุประสงค์ แบบที่ 1
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน
2 เพื่อป้องกันอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน
3 เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกวัตถุประสงค์ แบบที่ 2
1.  เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มอายุ
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ     เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล    ครอบครัว   ชุมชน  ให้มี
ศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจและตระหนักในการป้องกันไข้เลือดออก    
วัตถุประสงค์ แบบที่ 3
. เพื่อลดอัตราการป่วย โรคไข้เลือดออกในประชากรทุกกลุ่มอายุลงร้อยละ ๒๐
. เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก
 . เพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลุกน้ายุงลายในโรงเรียนและชุมชน และลดความชุกชุมของลุกน้ายุงลาย ตามเป้าหมายดังนี้
๓.๑ ในโรงเรียน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกโรงเรียนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕ โดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=O)
๓.๒ในชุมชน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือนให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ โดยให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน ๑๐)
. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกองค์กรชุมชน และประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน และให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

3.เป้าหมาย  แบบที่ 1
3.1 จัดสัปดาห์รณรงค์ควบคุมป้องกันโรค .... ครั้ง/ ปี จำนวน ......หมู่บ้าน
3.2 อบรมแกนนำควบคุมโรค อสม. ,อบต. ,ผู้นำชุมชน จำนวน ...... คน
3.3 ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน
เป้าหมาย   แบบที่ 2
ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายใน หมู่ที่ .....
1.              บ้าน จำนวน  ..... หลังคาเรือน
2.             โรงเรียน จำนวน ..... แห่ง
3.             วัด จำนวน  ....  แห่ง
4.             สถานที่ราชการ จำนวน  ….  แห่ง

4.กลวิธีดำเนินการ แบบที 1
4.1 จัดทำโครงการ ขออนุมัติโครงการ
4.2 จัดสัปดาห์ควบคุมโรค ....ครั้ง / ปี
4.3 มีการประชุมประชาคมหมู่บ้านในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.4 จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคของหมู่บ้าน
4.5 อบรมแกนนำเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
4.6 จัดซื้อผ้าห่อทรายอะเบทเพื่อใช้ในการรณรงค์
4.7 จัดซื้อทรายอะเบตเพื่อใช้ในการรณรงค์
กลวิธีดาเนินการ แบบที่ 2
- ลงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเพื่อใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์
- รณรงค์ร่วมกันในตำบล
- ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
- ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชนหรือตัวแทน ที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำควบคุมโรคไข้เลือดออก
- ประชาสัมพันธ์แกนนำในระดับหมู่บ้าน โดยใช้เอกสารแผ่นพับใบปลิว สื่อวิทยุกระจายเสียงชุมชน เป็นต้น
- เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดำเนินงาน
- รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบท สำรวจค่า HI,CI ในหมู่บ้าน ดำเนินการทุกๆ ๗ วัน

5.สถานที่ดำเนินการ
5.1 ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน..................ในพื้นที่รับผิดชอบของรพสต.........
5.2 อบรมแกนนำเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่รพสต. .. วัน
5.3 ดำเนินการสัปดาห์รณรงค์ .... ครั้ง / ปี

6.ระยะเวลาดำเนินการ
- มกรา2556กุมภาพันธุ์ 2556
- ดำเนินการอบรม 1 วัน

7.งบประมาณ
7.1 การอบรมแกนนำเพื่อดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน ..... คน
- ค่าอาหารกลางวันในการอบรม จำนวน ... คน x 50 บาท x 1 วัน เป็นเงิน ……. บาท
- ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน …. คน x 20 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน ………. บาท
7.2 ค่าทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ จำนวน  ……… บาท เป็นเงิน …………….. บาท
7.3 ซื้อผ้าห่อทรายอะเบท จำนวน ... เมตร x ...บาท …. เป็นเงิน …………….. บาท
7.4 ค่าน้ำดื่มในการประชาคมหมู่บ้าน เป็นเงิน ....... บาท
รวมงบประมาณในโครงการทั้งสิ้น จำนวน............. บาท ( ....................... )

8.การประเมินผล  แบบที่ 1
8.1 อัตราการเกิดโรคน้อยกว่า ... ต่อแสนประชากร
8.2ไม่มีอัตราป่วยใหม่(incidence rate)
8.3 ค่า BI น้อยกว่า ......
ารประเมินผล  แบบที่ 2
. ประเมินผลจากการรายงานการเกิดโรคไข้เลือดออก (รายงาน ๕๐๖)
. ประเมินจากการดำเนินงาน จากการสอบถามและสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
. อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร
. ค่า HI CI
. จากการร่วมมือของชุมชนในการจัดทาโครงการฯ ดังกล่าว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
. อัตราป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ องค์กรชุมชน ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และประชาชนในหมู่บ้าน.........ทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
. ค่าดัชนีลุกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ


9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
8.2 ไม่มีอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน
8.3 มีความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดอก
10.ผู้รับผิดชอบโครงการ
................ ในเขตรพสต.......................... ตำบล............................. อำเภอ................................... จังหวัด.................................



ลงชื่อ .....................................ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ..........................................ผู้เสนอโครงการ
(                               )                                                                (.                      )
ลงชื่อ .....................................ผู้เสนอโครงการ ลงชื่อ..........................................ผู้เสนอโครงการ
 (                                            . )                                              (.                                      )